หมวดหมู่สินค้า

 • ถังเก็บน้ำ JUMBO
 •ถังเก็บน้ำ Premier Product (PP)
 • ถังเก็บน้ำ Advanced
 • ถังเก็บน้ำ เรือใบ JRM
3. ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส
 • Premier Product (PP)
 • WAVE MEGA TANK
4. ถังบำบัดน้ำเสีย และดักไขมัน
 • ถังบำบัดน้ำเสีย DOS
 • ถังบำบัดน้ำเสีย WAVE
 • ถังบำบัดน้ำเสีย Premier Product
5. ปั๊มน้ำ
 • Grundfos 
 • Mitsubishi (มิตซูบิชิ)
 • Hitachi (ฮิตาชิ)
6.เครื่องกรองน้ำ 3M
7. ผลิตภัณฑ์ SANWA
8. อุปกรณ์เสริม
9. เครื่องมือไฟฟ้า
 • Maktec
 • Makita

ติดต่อเรา

== Hardware Box Thailand ==

  ฮาร์ดแวร์บ๊อกซ์ ไทยแลนด์ 

ดำเนินกิจการภายใต้

หจก. นครไทยอุปกรณ์

ซึ่งดำเนินธุรกิจจัดจำหน่าย ปั๊มน้ำ, อุปกรณ์ไฟฟ้า - ประปา, ท่อพีวีซี, วาล์วน้ำ, สีทาบ้าน, เครื่งมือช่าง และอุปกรณ์ต่างๆสำหรับงานก่อสร้าง,  งานซ่อมบำรุง, และงานอุตสาหกรรม 

เราดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 30 ปี ด้วยความซื่อสัตย์ และให้คำแนะนำเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเสมอมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

=========================

 02-587-4390 

 098-428-2495 

 Line: 0984282495

 : @HardwareboxTH

 : hardwareboxthailand@gmail.com

======================

CONTACT US

ยอดผู้ชม

1219947

ท่อประปา

ท่อประปา ทำจากวัสดุต่างๆ แบ่งเป็น 5 ประเภท ดังนี้

1. ท่อประปาเหล็กอาบสังกะสี

ข้อดี: มีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี ทนทานต่อแรง กระแทกได้ ไม่หักงอ ทนต่อความดันและอุณหภูมิที่สูงๆ เช่น เครื่องทำน้ำร้อน

ข้อเสีย: ราคาค่อนข้างแพง ถ้าใช้ไปนานๆ อาจเกิดสนิม ได้ โดยเฉพาะที่ฝังอยู่ในดิน อาจเป็นอันตราย ถ้านำน้ำในท่อ มารับประทาน

2. ท่อ PVC (Poly Vinyl Chloride) แบ่งเป็น 2 ชนิดตามการใช้งาน ได้แก่

  • ท่อสีเหลือง เป็นท่อสำหรับร้อยสายไฟฟ้า และสาย โทรศัพท์ เพราะสามารถทนต่อความร้อนได้อย่างดี
  • ท่อสีฟ้า เป็นท่อที่ใช้กับระบบน้ำ เช่น ระบบน้ำดื่ม น้ำเสีย และงานท่อระบายน้ำ สามารถทนแรงดันน้ำได้มากน้อยตามประเภท การใช้งาน (มีหลายเกรด)
  • ท่อสีเทา เป็นท่อที่ใช้สำหรับการเกษตร หรือน้ำทิ้ง ก็ได้ ราคาค่อนข้างถูก ไม่ค่อยแข็งแรง ควรจะเดินลอย ไม่ควร ฝังดิน 

ข้อดี: น้ำหนักเบา ราคาถูกกว่า สามารถดัดงอได้ และ ไม่เกิดสนิมน้ำในท่อจะสะอาดกว่า

ข้อเสีย: ไม่สามารถทนต่อแรงกระแทกแรงๆ ได้ ไม่ทนต่อความดันและอุณหภูมิที่สูง

3. ท่อ PE – Poly Ethylene  ท่อโพลีเอทิลีน หรือ พีอี เป็นวัสดุทางเคมีที่มีค่าความหนาแน่นสูง

ข้อดี: น้ำหนักเบา สะดวกในการเคลื่อนย้าย ยืดหยุ่นได้ดี ทนแรงกระแทก ไม่มีสารพิษ ขดเป็นม้วนได้ทนสารเคมี อายุการใช้งานยาวนาน ทนแสงอาทิตย์

       ผิวในท่อเรียบ ของเหลวไหลสะดวก

4. ท่อไซเลอร์ ภายนอกเป็นท่อเหล็ก GSP. ภายในเป็นท่อ PE. 

ข้อดี: มีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี ทนทาน กระแทกได้ ไม่หักงอ ทนต่อความดันและอุณหภูมิสูงถึง 95 องศา ไม่เป็นสนิม เหมาะสำหรับ ใช้ติดตั้งใน โรงแรม อาคารขนาดใหญ่ สถานที่ ๆ ต้องการความทนทานสูง หรือสถานที่ ที่ยากต่อการซ่อมแซม

ข้อเสีย: ราคาสูง

5. ท่อพีพีอาร์ ผลิตจากเม็ดพลาสติกคุณภาพสูง (Thermo Plastic)

ข้อดี: การเชื่อมต่อระหว่างท่อ กับข้อต่อ ใช้วิธีการให้ความร้อน ด้วยคุณสมบัติพิเศษจึงทำให้ท่อและข้อต่อสามารถเชื่อมผสานกันเป็นเนื้อเดียว จึงมั่นใจว่าจะไม่เกิดปัญหาการรั่วซึมที่บริเวณจุดต่อเชื่อมระหว่างท่อและข้อต่อ สามารถทนอุณหภูมิและแรงดันได้สูง แข็งแรงและมีอายุการใช้งานยาวนานไม่เป็นสนิม สามารถใช้เป็นท่อน้ำดื่มได้ เหมาะสำหรับใช้ติดตั้งในบ้านพัก ที่อยู่อาศัย คอนโด ตึกแถว หรืออาคาร

ข้อเสีย: ไม่สามารถทนต่อแรงกระแทกแรง ๆ ไม่เหมาะกับการติดตั้งใต้พื้นดิน หรือพื้นคอนกรีตที่มีการทรุดตัวมาก

 

การเลือกอุปกรณ์ประปา เลือกใช้วัสดุที่เหมาะกับประเภทงานที่ใช้ ทั้งระบบน้ำดี และระบบประปาน้ำทิ้ง

1. ท่อพีวีซี (PVC)                                                                                                                                                           

     ท่อพีวีซีสีฟ้ามีหลายเกรด คุณภาพแตกต่างกัน สามารถแบ่งเป็น 3 ระดับคุณภาพ ตามความสามารถในการทนแรงดันน้ำ ได้แก่

  • คุณภาพระดับ 5 เหมาะแก่การใช้งานท่อระบายน้ำ ซึ่งเป็นระบบที่มีแรงดันไม่มากเป็นแรงดันที่ไหลมากตามธรรมชาติ
  • คุณภาพระดับ 8.5 เหมาะกับการประปาน้ำดี ในบ้านและอาคารทั่วไปที่ทีการรับแรงดันที่เกิดจากปั๊มน้ำ
  • คุณภาพระดับ 13.5 เหมาะกับงานใช้ปั๊มที่แรงดันสูง เช่น คอนโด หรือโรงแรม

2. น้ำยาประสานท่อพีวีซี   การต่อท่อและข้อต่อพีวีซีสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด                                                                                              

1. ท่อน้ำดี ส่วนใหญ่จะมีแรงดันสูง 5 บาร์ขึ้นไป (ผ่านปั๊มน้ำ)                                                                                                  

2. ท่อน้ำทิ้งทั่วไป มักจะมีแรงดันสูงไม่เกิน 5 บาร์ (ไหลตามธรรมชาติ)

     การต่อกับอุปกรณ์ข้อต่อจะต้องใช้น้ำยาประสานท่อพีวีซีที่ต่างกัน โดยหลักการคือ ท่อที่มีแรงดันจะใช้น้ำยาประสานท่อพีวีซีชนิดบรรจุใยหลอดซึ่งจะมีความเข้มสูง มีประสิทธิภาพในการละลายผิวท่อกับอุปกรณ์ ให้ติดเป็นเนื้อเดียวกัน นอกจากนี้ยังเหมาะกับงานซ่อมแซมเองจากน้ำยามีความเข้มข้นสูงทำให้แห้งไว้  สามารถใช้งานได้รวดเร็ว ส่วนการต่อท่อที่ไม่มีแรงดัน จะใช้ชนิดบรรจุกระป๋อง ซึ่งน้ำยาใสกว่าชนิดแรกและราคาถูกกว่า มีประสิทธิภาพในการละลายเนื้อพีวีซีเหมือนกัน แต่ระยะเวลาในการแห้งช้ากว่าแบบเข้มข้น จึงเหมาะกับการใช้งานระบายน้ำที่ใช้ท่อขนาดใหญ่ที่จะช่วยยืดระยะเวลาในการปรับแต่งท่อดีกว่า ซึ่งหากใช้น้ำยาชนิดใสไปทาท่อที่มีแรงดัน หากท่อต้องอยู่กลางแจ้งถูกแดดเผานานๆ ท่ออาจจะหลุด รั่วได้ง่าย ในขณะที่หากใช้น้ำยาชนิดเข้มข้นมาทาท่อน้ำทิ้งก็ได้ แต่ก็จะสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ

3. อุปกรณ์ข้อต่อพีวีซี                                                                                                                                                                  

     การเลือกใช้อุปกรณ์ข้อต่อที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งานก็อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาน้ำรั่วซึมได้ โดยเฉพาะบริเวณก๊อกน้ำ หรือจุดจ่ายน้ำเข้าอุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้าน ควรเลือกใช้ข้อต่อเกลียวในทองเหลืองในการเชื่อมต่อแทนข้อต่อเกลียวในเป็นพีวีซีธรรมดา เพราะทนทานต่อการสึกหรอจากการติดตั้งอุปกรณ์เป็นเกลียวเหล็ก 

                                                                                                                      

การดูแลรักษาท่อน้ำและอุปกรณ์ประปาภายในบ้านเรือน

1. ท่อน้ำประปา

  • มั่นตรวจเช็ควัสดุท่อน้ำประปาสม่ำเสมอ เมื่อพบว่าท่อน้ำหรืออุปกรณ์ประปาแตก มีน้ำรั่วไหลออกมา รวมไปถึงการรั่วใต้ดินที่มองไม่เห็น ควรรีบซ่อมแซมท่อ หรืออุปกรณ์เหล่านั้นให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานทันที เพราะท่อและอุปกรณ์ที่รั่วทำให้สูญเสียน้ำไปมาก นอกจากสิ้นเปลืองแล้วอาจเป็นต้นเหตุให้สิ่งสกปรกเข้าไปอุดตันในท่อน้ำหรือ เครื่องสูบน้ำได้
  • กรณีใช้งานท่อเหล็กเก่าเป็นเวลาเกิน 5 ปี ทำให้น้ำประปามีคราบแดงเนื่องจากตะกอนสนิมปะปนอยู่ หากพบว่าท่อเก่าเป็นสนิมควรรีบเปลี่ยนท่อน้ำใหม่ทันที

2. เครื่องสูบน้ำ

     เครื่องสูบน้ำ ที่สูบโดยตรงจากท่อน้ำประปา อาจจะดูดสิ่งสกปรกจากบริเวณใกล้เคียง เช่น น้ำขุ่นจากท่อแตกรั่ว หรือน้ำแดงจากท่อที่เป็นสนิม เข้ามาในระบบท่อประปาในอาคารได้ ดังนั้นควรติดตั้งถังพักน้ำเพื่อสำรองน้ำไว้ก่อน แล้วค่อยสูบน้ำจากถังพักน้ำจ่ายไปยังท่อน้ำประปา ภายในตัวอาคารเพื่อที่จะได้น้ำที่สะอาดไว้ใช้บริโภค

3. ถังพักน้ำ หรือถังเก็บน้ำ

     ควรล้างทำความสะอาดอย่างน้อยๆ ทุก 6 เดือน หากไม่มีการล้างถังพักน้ำ หรือถังเก็บน้ำเลย สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่เล็ดรอดเข้าไป จะเจริญเติบโตเพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้น้ำประปาปนเปื้อนสิ่งสกปรกโดยไม่รู้ตัว ถังพักน้ำ หรือถังเก็บน้ำมักเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้น้ำ ไม่ได้รับมาตรฐาน

4. เครื่องกรองน้ำ

     เครื่องกรองน้ำที่ใช้งานมานานโดยไม่ได้ล้างหรือเปลี่ยนไส้กรอง อาจจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคและแบคทีเรียนานาชนิด ควรทำความสะอาด เครื่องกรองน้ำทุก ๆ 3 เดือน

16 ตุลาคม 2562

ผู้ชม 4195 ครั้ง

Engine by shopup.com